top of page

WATERPROOFING SYSTEM

ระบบกันซึม

ระบบกันซึม

ระบบกันซึม คืออะไร 

ระบบกันซึม คือ การใช้วิธีการหาวัสดุกันน้ำที่ประกอบด้วยวัสดุหลัก วัสดุรอง และวัสดุอื่นๆประกอบขึ้นมาเป็นระบบเพื่อใช้ในการป้องกันน้ำไม่ให้เข้ามาภายใน ด้านใน หรือทำลายโครงสร้างคอนกรีต เป็นต้น วัสดุกันน้ำนั้นมีองค์ประกอบหลายหลาย บางชนิดติตดั้งขณะทำการก่อสร้าง บางชนิดติดตั้งภายหลังก่อสร้างเสร็จแล้ว 

 

การติดตั้งและวัสดุกันซึมจะมีการออกแบบให้เหมาะสมตามพื้นที่และตามหลักการวิศวกรรม ทั้งนี้ระบบกันซึมควรใช้ป้องกันน้ำได้ดีมากเกือบ 100% หมายความว่า เมื่อติดตั้งระบบกันซึมเต็มรูปแบบแล้วควรจะกันน้ำได้ดีมากจนแทบไม่มีการรั่ว การรั่วที่เกิดต้องมาจาก human error เท่านั้น 

 

การออกแบบระบบกันซึม เรายึดหลักการง่ายๆ 3 หลักการ คือ

  1. วัสดุกันซึมต้องสามารถออกแบบใช้งานกันน้ำได้ตามสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อม

  2. วัสดุกันซึมต้องมีอายุทนทาน ตามการออกแบบที่ต้องการ เช่น 5 ปี 10 ปี หรือ 20ปี

  3. วัสดุกันซึมต้องบำรุงรักษาได้ 

ระบบกันซึม
ระบบกันซึม

ทำไมต้องทำมีระบบกันซึม

คำถามที่ว่าทำไมต้องทำระบบกันซึม ทั้งที่บ้านเก่าสมัยก่อนยังไม่เห็นมีระบบนี้มาก่อน คำตอบคือ ในปัจจุบันการออกแบบและการก่อสร้างมีความซับซ้อนมาก การใช้งานอาคารที่ซับซ้อน และมีงานระบบต่างๆ เข้ามาประกอบมากมายทั้งยังมีความต้องการให้อาคารนั้นมีความทนทานมากขึ้นและมีอายุการใช้งานของอาคารยาวนานโดยมีการซ่อมบำรุงน้อย 

การติดตั้งระบบกันซึม จึงมีความจำเป็นอย่างมากเพราะน้ำและความชื้นเป็นตัวการสำคัญที่เป็นการทำลายโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและทำความเสียหายต่อวัสดุตกแต่งและกระทบการใช้งานบางครั้งจำเป็นต้องปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย

อีกเหตุผลโดยเฉพาะในประเทศไทยคือ ประเทศไทยนั้นฝนตก 6 เดือน ตกแรงและมีมรสุม อีกทั้งประเทศไทยมีน้ำใต้ดินสูงและมีน้ำท่วมน้ำขังแทบจะตลอดฤดูฝน เป็นเหตุผลที่ต้องการระบบกันซึมในการป้องกันทั้งน้ำและความชื้น 

ระบบกันซึม
ระบบกันซึม

พื้นที่ไหนต้องการระบบกันซึม

พื้นที่ที่ต้องทำระบบกันซึม โดยส่วนมากมักเป็นพื้นที่ที่ติดกับน้ำและความชื้น หรือพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาถ้าไม่มีการป้องกัน หรือ พื้นที่ที่ต้องการควบคุมความชื้น ด้านล่างเป็นพื้นที่ที่ต้องการมีระบบกันซึมรองรับ โดยเราจะเรียงลำดับจากใต้ดินจนถึงสูงสุดของอาคาร

ชั้นใต้ดิน (ผนังและพื้นใต้ดิน)

ชั้นใต้ดินทั้งพื้นและผนังอยู่ใต้ดินคนทั่วไปมักนึกว่าไม่โดนฝนไม่น่าจะต้องมีระบบกันซึม แต่ความเป็นจริงชั้นใต้ดินต้องการวัสดุกันซึมที่ทนทานมากที่สุดเพราะไม่สามารถจะเปลี่ยนหรือทำระบบกันซึมเพิ่มเติมจากภายนอกได้เลย เพราะมีการปิดผิวกลบดิน เรียบร้อยแล้ว ชั้นใต้ดินแบ่งออกเป็นพื้นและผนังใต้ดิน การทำระบบกันซึมชั้นใต้ดินต้องติดตั้งขณะที่กำลังก่อสร้างอยู่เท่านั้นและมีวัสดุอุปกรณ์หลากหลายที่ใช้กันน้ำและความชื้นตามที่ได้ออกแบบไว้

สระว่ายน้ำ

โครงสร้างสระว่ายน้ำนั้นเรียกว่าสัมผัสกับน้ำตลอดเวลา แถมยังมีปริมาณน้ำหนักมหาศาลที่มาจากน้ำและตัวโครงสร้างเองที่ระบบกันซึมต้องรองรับแรงดัน ดังนั้นสระว่ายน้ำต้องการระบบกันซึมที่ต้องทนต่อแรงดันน้ำและสัมผัสความชื้นตลอดเวลาและยังต้องสามารถปูกระเบื้องทับได้ จะเห็นว่ามีปัจจัยหลากหลายให้พิจารณา การเลือกวัสดุกันซึมเพียงแค่อ่านข้างถังจึงเกิดปัญหาตามมามากมาย ต้องดูรายละเอียดให้ครบถ้วน

ห้องน้ำ

ห้องน้ำคือเคสคลาสสิคที่น้ำรั่วลงไปชั้นล่างบ่อยครั้งมากที่สุด ช่างทั่วไปยังมองหาแค่น้ำยากันซึมผสมคอนกรีตหรือปูนฉาบว่าเป็นวัสดุเทพ ใช้แล้วจบไม่รั่ว แต่พอรั่วจะต้องรื้อกระเบื้องออกทำให้ไม่ค่อยมีใครอยากแก้งานห้องน้ำรั่ว การออกแบบระบบกันซึมคล้ายกันกับสระว่ายน้ำ แต่ไม่ต้องการความทนแรงดันมากเท่ากับสระว่ายน้ำเพียงแต่ ระบบกันซึมในห้องน้ำมีอุปกรณ์ประกอบมากกว่าเพราะมี ระบบท่อ ระดับ รอยต่อ และตะเข็บมากมายพร้อมทั้งสุขภัณท์ต่างๆ การติดตั้งทำในที่แคบและต้องใช้การตัดแต่งที่มากกว่าการสร้างใหม่

ระเบียง ดาดฟ้า หลังคา

เป็นพื้นที่ที่ต้องรับทั้งน้ำฝนและรังสียูวีและความร้อนสูงตลอดเวลา ต้องการระบบกันซึมที่ทนทานสูงเพราะจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย แต่ปัญหาคือวัสดุกันซึมทั่วไปมักไม่ทนทานต่อแดดในบ้านเราเพราะแดดเราแรงมากแถมมีความชื้นและฝนอยู่ยาวนาน

ถังเก็บน้ำดีชนิดถังคอนกรีต

ถังเก็บน้ำต้องการวัสดุกันซึมที่ต้องป้องกันน้ำและไม่เป็นพิษ โดยแบ่งออกเป็นหลากหลายระดับของวัสดุกันซึมที่เลือกใช้ โดยเราขอแบ่งออกเป็น 1. เกรด portable water หรือน้ำอุปโภคบริโภค 2. food grade เป็นเกรดที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม 3. Surgery grade เป็นน้ำที่ใช้ในโรงพยาบาลเพื่อการผ่าตัด การเลือกใช้วัสดุไม่เหมือนกันและมีงบประมาณแตกต่างกันข้างต้น

ถังบำบัดน้ำเสีย 

ถังเก็บน้ำเสียหรือถังบำบัดน้ำเสีย เป็นถังคอนกรีตที่ใช้รับน้ำเสีย กักน้ำเสีย และบำบัดน้ำเสีย ก่อนจะส่งออกไปสู่ท่อสาธารณะ ลักษณะของน้ำเสียจะมีกรดและสารเคมีค่อนข้างเยอะและมีก็าซที่เกิดจากน้ำเสียลอยขึ้นไปทำลายผิวคอนกรีตจนเสียหาย ฉะนั้นวัสดุกันซึมต้องทนทานสารเคมีและกรดเป็นพิเศษ

ผนังภายนอก 

บ้านหลังมุมมักจะเกิดปัญหาน้ำรั่วที่ผนังด้านนอกและซึมเข้ามาด้านใน บางท่านคิดว่าทาเสียก็เพียงพอแล้ว ก็ไม่ผิด สำหรับอาคารที่สร้างมามาตรฐาน ใช้วัสดุมีคุณภาพ แต่อาคารทั่วไปมักลดต้นทุน ใช้วัสดุไม่มีคุณภาพมักเกิดรอยร้าวได้ง่าย เป็นผลให้เกิดการรั่วซึมแม้จะมีสีที่ทาอยู่ก็ตาม แม้ทาสีอย่างดีแล้วแต่สีเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้น้ำซึมผ่านรอยร้าวและถูกดูดซึมโดยผนังปูนฉาบเข้ามาด้านใน ยิ่งนานจะยิ่งกัดกร่อน

พื้นที่อื่นๆ พื้นที่พิเศษ 

พื้นที่อื่นๆ เช่น ท่อร้อยสาไฟ ท่อระบายน้ำ ผนังห้องนิรภัย ห้องเก็บอุปกรณ์สำคัญที่ไม่ต้องการความชื้น ก็ยังต้องการระบบกันซึมเพื่อป้องกันน้ำและความชื้น

ระบบกันซึม
ระบบกันซึม

วัสดุกันซึมที่ใช้กับพื้นที่ต่างๆ

การเลือกใช้วัสดุกันซึม ไม่เพียงแต่ต้องเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับพื้นที่ ยังต้องเลือกระดับชั้นของวัสดุให้ตรงกับความต้องการด้วย ตรงนี้คนทั่วไปมักเข้าใจผิดเพียงว่าจะซื้อของจากร้านวัสดุก่อสร้างอ่านคุณสมบัติข้างกระป๋องก็เอามาแก้ไขการรั่วซึมได้ ซึ่งจะได้ประสิทธิภาพไม่เต็มที่และไม่สามารถจะป้องกันการรั่วซึมได้หากเลือกวัสดุผิดประเภทเนื่องจากฉลากที่ติดมักเป็นการอธิบายภาพรวมและมีข้อมูลมากจนคนอ่านคนใช้มักสับสนและไม่สามารถทำความเข้าใจกับข้อมูลทั้งหมดและงานกันซึมเป็นงานเกี่ยวข้องทางด้านโครงสร้างและวิศวกรรมจึงควรมีวิศวกรหรือผู้มีความรู้ด้านนี้โดยตรงมารับผิดชอบ วัสดุกันซึมแบ่งประเภทต่างๆ ดังนี้ 

วัสดุกันซึมชนิดทา (Coating Waterproof type)

กันซึมอะคริลิคโพลิเมอร์ (Acrylic polymer) เป็นวัสดุกันซึมชนิดทาตัวมาตรฐานเริ่มต้น ส่วนมากเป็นวัสดุที่พร้อมทาหมายความว่าเปิดถังแล้วทาได้เลยคล้ายสีทาบ้าน มีความยืดหยุ่น มีความทนทานต่อแสงแดดและรังสียูวี เหมะสมกับการใช้กับกันซึมดาดฟ้า เช่น ดาดฟ้าคอนกรีต หลังคาเมทัลชีท ระเบียง หลังคากระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องซีแพค เป็นต้น

กันซึมโพลียูรีเทนหรือพียู (Polyurethane) ( Water Base หรือ สูตรน้ำ) เป็นวัสดุกันซึมอีกตัวที่พัฒนาควบคู่กับกันซึมแบบอะครีลิค โดดเด่นด้านการยืดตัว แต่มีข้อเสียคือไม่ทนต่อรังสียูวี อายุการใช้งานสูงกว่าอะคริลิคไม่มาก ใช้กับกันซึมดาดฟ้าคอนกรีต 

กันซึมโพลียูรีเทนสูตรน้ำมัน (Polyurethane Solvent Base) ตัวนี้มีวัสดุหลักคือโพลียูรีเทน 100% ไม่มีส่วนผสมของน้ำ ทนทานมากกว่า พียูสูตรน้ำ มักจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทนทานยาวนานบางยี่ห้อสูงถึง 15 ปี

กันซึมซีเมนต์ชนิดยืดหยุ่น (Cementtitious) เป็นวัสดุกันซึมสองส่วนผสมคือซีเมนต์กับโพลิเมอร์ ใช้กับพื้นที่ภายในเท่านั้นห้ามปล่อยเปลือยตากแดด เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว สระว่ายน้ำ ระเบียง ผนังถังเก็บน้ำ เป็นต้น เมื่อติดตั้งกันซึมซีเมนต์เบสแล้วควรมีวัสดุปิดทับหรือเคลือบทับด้วยวัสดุอื่นๆ เช่น กระเบื้อง เป็นต้น

กันซึมคริสตัลหรือกันซึมแบบตกผลึก (Crystaline) คือวัสดุกันซึมที่เป็นสารเคมีเมื่อเคลือบหรือพ่นหรือทาบนคอนกรีตจะทำปฏิกิริยากันทำให้เกิดผลึกขึ้นที่ผิวคอนกรีตและซึมลงไปในเนื้อคอนกรีตเป็นตัวป้องกันน้ำและยังสามารถซีลรอยร้าวเล็กๆ 0.3-0.5 มิลลิเมตรได้ใช้กับผนังคอนกรีต พื้นคอนกรีตภายใน เช่น กำแพงกันดิน

วัสดุกันซึมชนิดแผ่นหรือแบบม้วน

แผ่นกันซึมชนิดบิทูเมนเมมเบรน (Bitumen Membrane) หรือกันซึมชนิดแผ่นยางมะตอย มีการใช้งานมายาวนานมากกว่า 50ปี โดยเริ่มจากการใช้น้ำยางมะตอยมาขึ้นรูปโดยการรีด แผ่นกันซึมชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดแผ่นกันซึมแบบเป่าไฟ มีความหนา 3 และ 4 มิลลิเมตร และ กันซึมชนิดลอกกาวมีความหนา 1.5 และ 2.0 มิลลิเมตร ใช้กับงานใต้ดิน กำแพงกันดิน พื้นใต้ดิน ผนังกันดินภายนอก ผนัง D-wall ผนัง Retaining Wall

กันซึมชนิดพีวีซี (PVC Waterproof Membrane)  คือ ระบบกันซึมชนิดแผ่นที่มีความทนทานสูงผลิตมาจากวัสดุประเภท poly vinyl chloride หรือ PVC เป็น virgin high grade PVC ผสมกับ Additive ที่มีค่าความยืดหยุ่นและทนทานสูง มีลักษณะเป็นม้วน ความกว้าง 2 เมตร ยาว 20 เมตร ความหนา มี 1.2, 1.5, 2.2 มิลลิเมตร ยิ่งหนายิ่งทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน ตั้งแต่ 10-20 ปี ขึ้นกับ ชั้นคุณภาพและวิธีการติดตั้ง โดยมากใช้กับ flat roof ดาดฟ้าคอนกรีต ผนังกันดินภายนอก

กันซึมชนิดทีพีโอ (TPO Waterproof Membrane) Thermoplastic polyolefin คือวัสดุกันซึมชนิดแผ่นที่ผลิตโดยวัสดุประเภท Thermoplastic ลักษณะคล้ายชนิด PVC มีความหนา 1.5 มิลลิเมตร อายุการใช้งาน 15-20 ปี 

กันซึมแบบใช้เครื่องพ่น

กันซึมโพลียูเรีย (Polyurea) เป็นระบบกันซึมที่มีลักษณะ polymer coating ใช้การพ่นแทนการทา ของแท้เพียวโพลียูเรียต้องพ่นเท่านั้น วัสดุเป็นถังดรัม 200 ลิตร ต่อกับเครื่องพ่นเพื่อใช้พ่นบนหลังคา เป็นวัสดุที่เคลือบผิวหน้าชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมายาวนาน สมัยก่อนใช้เคลือบผิวป้องกันการกัดกร่อน เช่นบ่อเก็บสารเคมี ถังเก็บน้ำมัน เป็นต้น

ระบบกันซึม

เตรียมพื้นผิว (preparation)

ซ่อมรอยร้าว (repair crack)

เคลือบกันซึม (Waterproof coating)

ระบบกันซึม

Line ID: orlanx
Mobile: 089-545-6452

bottom of page