Polished concrete & Floor Hardener
พื้นปูนขัดมันและพื้นฟลอฮาร์ด
ระบบพื้นขัดมันฟลอฮาร์ด
Floor Hardener
ระบบพื้นขัดมันแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ พื้นขัดมันที่ทำขณะคอนกรีตยังไม่แห้งตัว หรือเรียกว่าพื้นฟลอร์ฮาร์ด (Floor Hardener) และอีกชนิดคือ พื้นขัดมันทำหลังจากคอนกรีตเซ็ตตัว และบ่มตัวเรียบร้อยแล้ว เราจะมาพูดถึงพื้นปูนขัดมัน ทั้ง 2 ชนิดดังนี้
พื้นฟลอร์ฮาร์ด (Floor Hardener)
พื้นขัดมันชนิดนี้ วัสดุมีลักษณะเป็นผงปูน มีหลากหลายสีให้เลือก เช่น สีเขียว สีเทา สีแดง สีธรรมชาติ พื้นปูนขัดมันจะโรยผงฟลอร์ฮาร์ดลงบนพื้นคอนกรีตสดที่ยังไม่แห้ง 100% โดยแห้งตัวไปประมาณ 80% กรรมวิธีติดตั้งพื้นปูนขัดมันชนิดนี้จะใช้เครื่องขัดชนิดคอปเตอร์ ขัดบนพื้นผิวที่ยังไม่เซ็ตตัวดี โดยขัดบนผงปูนที่โรยไว้โดยขัดในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ขัดในอัตราที่เท่ากัน โดยอัตราการใช้ผงปูนฟลอร์ฮาร์ดขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งที่ผิวหน้าที่ได้ออกแบบไว้ ยิ่งใช้ปูนขัดมันมากก็ยิ่งได้พื้นปูนที่แข็งแกร่งตามไปด้วย อัตราการใช้ผงปูนฟลอร์ฮาร์ดมีตั้งแต่ 3-7 กก/ตร.ม. การเลือกใช้ผงปูนฟลอร์ฮาร์ดสามารถเลือกใช้ได้ในอัตราที่เท่า ๆ กันต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. ขัดเสร็จแล้วทิ้งไว้ให้คอนกรีตเซ็ตตัว และแห้งสนิทประมาณ 24 ชั่วโมง จึงทำการบ่มคอนกรีตด้วยน้ำยาบ่มคอนกรีต หรือวิธีบ่มคอนกรีตที่ได้ตกลง
ลักษณะพื้นผิวของพื้นปูนขัดมันฟลอร์ฮาร์ด (Floor Hardener)
จะมีลักษณะเรียบเนียน มีสีตามที่ได้เลือกปูนฟลอร์ฮาร์ด ผิวมีลักษณะด้าน ไม่มีความมันวาว สามารถใช้เป็นพื้นผิวที่ทนทานต่อการขัดสีได้ ความแข็งของพื้นปูนขัดมันฟลอร์ฮาร์ด พื้นปูนขัดมันมีความแข็งตามการทดสอบตามค่า MOH ประมาณ 8-9
การบำรุงรักษา และการใช้งานพื้นปูนขัดมันฟลอร์ฮาร์ด (Floor Hardener)
การทำความสะอาดสามารถใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป ห้ามใช้น้ำยาที่มีความเป็นด่าง หรือกรดสูง บำรุงรักษาผิวแบบเดียวกับผิวคอนกรีต สามารถเคลือบแว็กลงบนผิวขัดมัน และขัดผิวด้วยเครื่องขัดได้ หากพบรอยร้าวบนผิวปูนให้ทำการซ่อมแซมด้วยวิธีการซ่อมโครงสร้าง
ระบบพื้นขัดมัน polishing concrete
พื้นขัดมันทำหลังจากคอนกรีตเซ็ตตัว และบ่มตัว (Polished Concrete)
วิธีการติดตั้งพื้นปูนขัดมันหลังจากคอนกรีตเซ็ตตัว และบ่มตัว วิธีการขัดคอนกรีตให้เรียบมันสวยงาม จะทำหลังจากคอนกรีตแห้งตัวแล้ว 28 วัน โดยคอนกรีตต้องมีอายุ และกำลังตามที่ได้ออกแบบไว้ การขัดผิวคอนกรีตให้มีผิวมันวาว จะใช้เครื่องขัดที่มีคุณภาพสูง สามารถเปลี่ยนใบขัดได้ มีใบขัดให้เลือกหลายขนาด เริ่มจากขัดหยาบ ขัดละเอียด ขัดละเอียดสูง วิธีการติดตั้งพื้นขัดมันชนิดนี้จะเริ่มจากการขัดหยาบ 1-2 เที่ยว ขัดละเอียด 1-2 เที่ยว ละขัดละเอียดสูง 1-2 เที่ยว จะกินพื้นผิวลงไปประมาณ 4-10 มิลลิเมตร ตามจำนวนเที่ยวที่ทำการขัด การตรวจสอบผิวจะมีมันมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับเที่ยวในการขัด และเบอร์ใบขัดที่ใช้ในการขัด
ลักษณะพื้นปูนขัดมัน Polished Concrete
พื้นปูนขัดมันชนิดนี้จะไม่มีสีให้เลือก จะมีสีเดียวกับคอนกรีต ผิวจะมีความมันวาว เรียบเนียนสนิท มีความลื่นพอสมควร สามารถขัดจนเห็นพื้นผิวหินที่อยู่ในคอนกรีตได้
การบำรุงรักษาพื้นปูนขัดมัน Polished Concrete
ให้บำรุงรักษาพื้นปูนขัดมันชนิดนี้เช่นเดียวกับพื้นปูนขัดมันชนิด ฟลอร์ฮาร์ด (Floor Hardener)
ค่าใช้จ่าย หรืองบประมาณในการติดตั้งพื้นปูนขัดมัน
-
พื้นปูนขัดมันชนิดฟลอร์ฮาร์ด (Floor Hardener) มีค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 150-250 บาท/ตร.ม.
-
พื้นปูนขัดมัน Polished Concrete มีค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 400-700 บาท/ตร.ม.
ข้อดีของพื้นขัดมัน
ข้อดีสำหรับที่อยู่อาศัยพื้นขัดมัน
-
ประหยัดต้นทุนในการติดตั้งวัสดุในการปิดผิว วัสดุขัดมันเป็นวัสดุปิดผิวที่ค่อนข้างต่ำ ถ้าเปรียบเทียบกับชนิดอื่นๆ
-
ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพื้นขัดมัน มีค่าดูแลรักษาค่อนข้างน้อย มีอายุการใช้งานนาน ซึ่งเปรียบเทียบกับวัสดุปิดผิวชนิดอื่น
-
พื้นขัดมันสามารถทำความสะอาดได้ง่าย
-
พื้นขัดมันมีให้เลือกหลากสี
ประโยชน์ของพื้นขัดมันกับพื้นที่เชิงพาณิชย์
-
ประหยัดค่าใช้จ่าย
-
ทนทานต่อการเดินสำหรับที่มีคนพลุกพล่าน ซึ่งไม่จำเป้นต้องเคลือบผิว หรือเสียค่าใช้จ่ายในการลงแว็ก
-
พื้นขัดมันดูแลง่าย เพียงแค่ทำความสะอาดด้วยเครื่องถูพื้น
-
ทนทานต่อความชื้น พื้นขัดมันจะยอมให้ความชื้นที่อยู่ใต้คอนกรีตระเหยออกมา
-
พื้นขัดมันสะท้อนแสง ซึ่งเป้นส่วนที่สำคัญมากสำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์ และช่วยลดค่าใช้จ่าย
พื้นขัดมันมีผลต่อการลื่น ใช่หรือไม่
พื้นขัดมันถ้าดูด้วยตาผิวจะมัน และเรียบสนิท ซึ่งจะเข้าใจไปว่าเป้นพื้นที่ค่อนข้างลื่น แต่ในความเป็นจริงพื้นขัดมันมีความลื่นน้อยกว่าพื้นหิน ในการป้องกันการลื่นในพื้นที่พาณิชย์ ควรขจัดคราบน้ำ คราบน้ำมันอยู่สม่ำเสมอ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการลื่นไถล เช่น ทางลาด หรือกรณีที่มีพื้นที่สำหรับเด็กจำเป็นต้องทาผิวหน้าด้วยน้ำยากันลื่น ซึ่งจะมีเกร็ดทรายหยาบในการป้องกันการไถล