Heat Reflective Nano Silica Coating
สีสะท้อนความร้อนและฉนวนกันความร้อน
สีสะท้อนความร้อน หรือสีกันความร้อน บางครั้งเรียก เซรามิคโค๊ตติ๊ง คือสีคุณภาพสูงมีสารที่เป็นฉนวนกันความร้อนอยู่ในโพลีเมอร์เคลือบหลังคา ทางบริษัทใช้ผลิตภัณท์ที่มีคุณภาพสูงที่เรียกว่า Nano Silica เป็นวัสดุอนุภาคเล็กมากที่ใช้เป็นฉนวน คุณสมบัติของตัวมันคือ เมื่อทาหรือพ่นลงบนหลังคาจะสามารถช่วยลดอุณหภูมิภายในของตัวอาคารลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ลดลงแล้วทำให้เกิดการประหยัดค่าไฟฟ้าจากการใช้เครื่องปรับอากาศ และมีคุณสมบัติกันน้ำหรือกันความชื้น ยืดอายุการใช้งานของหลังคาได้มากกว่าเดิม 50%
คุณสมบัติเด่นของสีกันความร้อน
-
สะท้อนความร้อนมากกว่า 90%
-
มีคุณสมบัติทั้งการสะท้อนความร้อน และเป็นฉนวนกันความร้อน
-
ปกป้องความร้อนไม่ให้แผ่เข้ามาในตัวอาคารและช่วยลดอุณหภูมิ
-
เป็นวัสดุกันซึมกันรั่วหลังคา
-
ป้องกันการเกิดสนิมในหลังคาเหล็กเมทัลชีท
-
ผิวสีเนียนเรียบสวยงามและช่วยให้หลังคาทนทานต่อสภาพอากาศ
-
ผู้อยู่อาศัยเกดิความสบายเนื่องจากไม่มีการแผ่ของรังสีและความร้อนผ่านหลังคา
-
ผลิตโดยไม่มีตัวทำลาะลายหรือเรียกว่าสูตรน้ำ
Heat Reflective + Nano Insulation + Reinforced Waterproof
การลดอุณภูมิด้วยสีสะท้อนความร้อน
หลักการที่ใช้สำหรับสีสะท้อนความร้อน
สีสะท้อนความร้อน หรือสีกันความร้อน มีองค์ประกอบเป็นโพลีเมอร์ชนิดอะคริลิค 100% ซึ่งมีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนได้บางส่วน การจะเพิ่มฉนวนกันความร้อนให้มากขึ้น จำเป็นต้องเพิ่มสารผสมเพิ่มได้แก่ Nano Silica เป็นเม็ดอนุภาคที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวน มีคุณสมบัติสะท้อนรังสียูวี สามารถสะท้อนความร้อนได้มากกว่า 90% อนุภาคฉนวนนี้ป้องกันความร้อน และรังสียูวี ที่เกิดจากแสงแดดมากระทบหลังคา โดยสามารถลดอุณหภูมิที่มีบนพื้นหลังคาได้มากกว่า 10 องศาเซลเซียส สีกันความร้อนที่พูดถึงนี้ใช้หลักการสะท้อนความร้อน และหลักการฉนวนความร้อนประกอบกัน ไม่มีการใช้วัสดุที่เป็นตัวทำละลายในสีกันความร้อน จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดการเปลี่ยนสภาพ หรือการเสียสภาพของสีกันความร้อนและสะท้อนความร้อนใช้กับหลังคาชนิดต่าง ๆ เช่น หลังคาเมทัลชีท หลังคากระเบื้อง หลังคาซีแพค หลังคาไวนิล หลังคาไม้
คุณสมบัติเด่ดพิเศษของสีสะท้อนความร้อน
-
เป็นฉนวนกันความร้อน
-
เป็นสีสะท้อนความร้อน
-
เป็นสีกันความร้อน
การทดสอบผิวหน้าของสีสะท้อนความร้อน
การตรวจสอบว่าสีสะท้อนความร้อน สามารถทนความร้อนบนหลังคาว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ จำเป็นต้องวัดอุณหภูมิก่อน และหลังการติดตั้งสีกันความร้อน โดยวัดทั้งพื้นผิวภายใน และพื้นผิวภายนอกเทียบกันก่อน และหลัง ควรทำการวัดบริเวณใกล้กับหลังคาที่สุด สีสะท้อนความร้อนจะสามารถลดอุณหภูมิภายใน ตั้งแต่ 1-7 องศาเซลเซียส
การบำรุงรักษาสีสะท้อนความร้อน
-
ทำความสะอาดผิวหน้าสีสะท้อนความร้อน ด้วยน้ำสะอาดเป็นประจำสม่ำเสมอ
-
ทำการทาทับหน้า ด้วยสีสะท้อนความร้อนตัวเดิม ทุก ๆ 3 ปี
-
ตรวจสอบความหนาของสีสะท้อนความร้อนทุก ๆ 2 ปี
-
ตรวจสอบคุณสมบัติกับความร้อนทุก ๆ 2 ปี
-
ควรทำการตรวจสอบรางรูระบายน้ำรอบ ๆ เพื่อป้องกันน้ำขัง
-
ตรวจสอบการเปลี่ยนสภาพของสีสะท้อนความร้อน ด้วยการใช้เครื่องมือทดสอบ ควรทำทุก ๆ 5-10 ปี
การติดตั้งสีกันร้อนบนหลังคาเมทัลชีท
การติดตั้งบนหลังเมทัลชีท จำเป็นต้องใช้เครื่องพ่นสีสมรรถนะสูงโดยใช้ไฟฟ้า ซึ่งทางบริษัท ได้ใช้เครื่องพ่นจาก USA ยี่ห้อ Graco รุ่น 625 หรือเทียบเท่า เนื่องจากมีความทนทานและให้ความสวยงามต่อเนื่อง และใช้ได้ยาวนาน สามารถทำงานได้ 8 ชั่วโมงต่อวัน การพ่นนี้จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเนื่องจากอัตราการพ่นเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการควบคุมคุณภาพของความหนาและเนื้อสี
เปรียบเทียบสีสะท้อนความร้อนชนิด
นาโนซิลิก้า (Nano Silica) กับ ชนิดเซรามิคโค้ดติ้ง (Ceramic Coating)
มีการกล่าวถึงวัสดุเป็นสีสะท้อนความร้อนชนิดนาโนซิลิก้า กับชนิดเซรามิคโค้ดติ้ง ซึ่งดูจากประวัติศาสตร์แล้ว ชนิดนาโนซิลิก้า เป็นวัสดุที่พัฒนาการมาล่าสุดในการคิดค้นและติดตั้งสีกันความร้อนหรือสีสะท้อนความร้อน การเลือกใช้วัสดุกันความร้อนทั้ง 2 ชนิด มีข้อเปรียบเทียบที่แตกต่างกันดังนี้
-
นาโนซิลิก้า จะมีอนุภาคของฉนวนกันความร้อนที่มีขนาดเล็กกว่า เซรามิคโค้ดติ้ง
-
นาโนซิลิก้า เรียงตัวอนุภาคภายในโครงสร้างของสีสะท้อนความร้อนได้ดีกว่า เซรามิคโค้ดติ้ง
-
นาโนซิลิก้า ให้ความเป็นฉนวนมากกว่า เซรามิคโค้ดติ้ง ประมาณ 20-30%
-
ประมาณการใช้ของ นาโนซิลิก้า มีอัตราการใช้น้อยกว่า เซรามิคโค้ดติ้ง
-
นาโนซิลิก้า มีผิวเรียบสวยงามเนื่องจากมีอนุภาคที่เล็กกว่า
-
นาโนซิลิก้า เป็นสีกันความร้อนที่ให้อัตราการสะท้อนความร้อนมากกว่า เซรามิคโค้ดติ้ง มากกว่า 50%
โดยรวมแล้วสีสะท้อนความร้อน หรือสีกันความร้อนชนิดนาโนซิลิก้า ให้คุณสมบัติมากกว่าชนิดเซรามิคโค้ดติ้ง โดยเหตุผลข้างต้นการเลือกทาสีสะท้อนบนหลังคายังเป็นสิ่งที่ค่อนข้างไกลตัวของผู้คนในประเทศไทย เนื่องจากความไม่ต้องการเสียเงินเพิ่ม และการไม่มีองค์ความรู้ทั้งที่สีสะท้อนความร้อนสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ยาวนาน 10 ปี และสามารถยืดอายุหลังคาได้นาน 30 ปี เราจึงแนะนำให้เลือกใช้สีสะท้อนความร้อนกับบ้านทุกหลังคา อาคารทุกหลังที่ใช้หลังคา ทั้งหลังคาเหล็ก และหลังคากระเบื้อง
สีกันร้อนเหมาะกับอาคารแบบไหนบ้าง
หลังคาโกดังเก็บสินค้า
หลังคาโรงงานทั้วไป
หลังคาบ้านที่พักอาศัย
หลังคาปั๊มน้ำมัน
หลังคาห้างสรรพสินค้า
อาคารที่ไม่ใช้เครื่องประบอากาศ
ฟารม์เลี้ยงสัตว์
อาคารสำนักงานที่เปิดเครื่องปรับอากาศ
อาคารทั่วไป
เหตุผลที่สีสะท้อนความร้อนเป็นมากกว่าการลดค่าไฟฟ้า
เหตุผลใดที่สีสะท้อนความร้อนเป็นได้มากกว่าการลดค่าไฟฟ้า
หลายปีมาแล้วได้เปรียบเทียบสีสะท้อนความร้อนกับวัสดุกันซึมชนิดต่างๆ เช่น เมมเบรนพีวีซี(PVC) หรือเมมเบรนทีพีโอ(TPO) ซึ่งเป็นเทรนด์ที่มาแรงในการใช้วัสดุกันซึม การเปรียบเทียบสีสะท้อนความร้อน สามารถดูได้ที่องค์ประกอบที่จะกล่าวถึงในหัวข้อถัดๆไป
ประวัติสีสะท้อนความร้อน
สีสะท้อนความร้อน เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1980 โดยเป้าหมาย หรือจุดประสงค์สีกันความร้อนใช้เพียงแค่ทาปกป้องผิวหน้า เพื่อป้องกันรังวียูวี ป้องกันน้ำ และสามารถใช้ในการยืดอายุหลังคาคอนกรีต เช่น ใช้พ่นบนฉนวนกันความร้อนอีกครั้ง เพื่อยืดอายุฉนวนกันความร้อน หรือใช้เป็นวัสดุซ่อมแซมผิวคอนกรีต ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่มีจุดประสงค์ในด้านป้องกันความร้อน
การประหยัดพลังงานจากสีสะท้อนความร้อน
เป็นที่ประจักแล้วว่าสีสะท้อนความร้อนช่วยลดอุณหภูมิหลังคา หรือพื้นผิว เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ไม่ได้ทาบนพื้นผิว การทาสีท้อนความร้อนเป็นการลดความร้อน และเป็นผลให้ลดการใช้ไฟฟ้า เนื่องจากเครื่องปรับอากาศมีมูลค่าลดลง
การยืดอายุหลังคา
หลังคามีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนหลังคา หรือเรียกง่ายๆว่าอายุหลังคา โดยทั่วไปอายุหลังคามีอายุประมาณ 20 ปี การใช้สีสะท้อนความร้อนเคลือบผิวหน้า สามารถยืดอายุของหลังคา ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 50-100% ขึ้นอยู่กับสภาพหลังคา และวัสดุ
ผลด้านสิ่งแวดล้อมของสีสะท้อนความร้อน
-
ความยั่งยืน
-
การรีไซเคิลของวัสดุ
-
การลดขยะ
การลดอุณหภูมิเป็นหัวใจสำคัญของการเติมโต และการเจริญพันธุ์ของฟาร์มไก่
อุณหภูมิเป็นเหตุผลในการเกิดปัญหาดังนี้
-
น้ำหนักของสัตว์ที่อยู่ในฟาร์มจะลดลง
-
ลดผลผลิตการเกิดหรือการเจริญพันธุ์
-
สัตว์จะมีการบริโภคน้ำที่มากขึ้น
-
สัตว์จะต้องการวิตามิน และเกลือแร่เพิ่มขึ้น
-
ภูมิต้านทานลดลง และป่วยง่าย
-
มูลที่เกิดจากสัตว์มีคุณภาพที่ไม่ดี
อุณหภูมิเป็นปัจจัยหลักในการเจริญพันธุ์
มีปัจจัยมากมายที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญพันธุ์ในสัตว์ ซึ่งมีปัจจัยหลากหลายแตกต่างกัน ในท้ายที่สุดมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเป็นอยู่ในโรงเลี้ยงสัตว์ เช่น อุณหภูมิภายใน ความชื้น และอุณหภูมิอากาศ การลดอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มปริมาณการเจริญพันธุ์ของสัตว์ปีก ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพการอยู่อาศัยของสัตว์ปีก อุณหภูมิภายในควรคงสภาพไว้คือ 21 องศาเซลเซียส เพื่อรักษาคุณภาพของสัตว์ปีกในด้านน้ำหนัก และการเจริญพันธุ์
การติดตั้งสีสะท้อนความร้อน
สามารถลดอุณหภูมิที่จะส่งผ่านหลังคามี่ส่องเข้ามาในฟาร์มสัตว์เลี้ยง ความสามารถในการสะท้อนรังสี และความสามารถในการปลดปล่อยความร้อนสู่บรรยากาศ 2 ปัจจัยหลักของสีสะท้อนความร้อน ยิ่งมีค่ามากจะสามารถลดความร้อนได้มาก โดยทั่วไปแล้วหลังคาเมทัลชีทจะสะท้อนความร้อนได้ 50% แต่ไม่สามารถปลดปล่อยความร้อนจากตัวเองไปสู่บรรยากาศได้ แผ่นเมทัลชีทสามารถมีอุณหภูมิสูงถึง 80 องศาเซลเซียส
วิธีการลดความร้อนในฟาร์มไก่
ในปัจจุบันผู้ทำฟาร์มไก่มีวิธีการแก้ปัญหาในการเกิดความร้อน เช่น การติดตั้งฉนวนกันความร้อนแต่ก็ยังไม่เพียงพอ หรือใช้วิธีการพ่นไอน้ำเข้าไปในฟาร์มไก่ ทั้ง 2 วิธีเป็นการเพิ่มความชื้นภายในฟาร์มไก่ เป็นผลให้เกิดโรคระบาดในไก่ตามมา เราจึงจำเป็นที่จะแก้ปัญหาการลดความร้อนที่ สามารถตอบโจทย์ในการลดอุณหภูมิภายในฟาร์มเลี้ยงไก่ได้ เราเพียงแนะนำการใช้สีสะท้อนความร้อน หรือสีกันร้อนที่สามารถลดอุณหภูมิในฟาร์มไก่ได้จริง มีราคาประหยัด และสามารถติดตั้งได้ทุกพื้นผิวของหลังคา